วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ศิษย์เก่า ร.ร.นารีวิทยา

รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ เป็นอดีตศิษย์เก่าโรงเรียนนารีวิทยา อ.เมือง จ.ราชบุรี ท่านเรียนอยู่ที่นี่ถึง 6 ปี ท่านเริ่มรับราชการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 อยู่ในราชการเกือบ 40 ปี และได้มีประสบการณ์บริหารมหาวิทยาลัยในตำแหน่งต่างๆ อาทิ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ และช่วงปี 2540-2546 ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มศว. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราชบุรีอีกประการหนึ่ง คือ ท่านเคยมาดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในวาระสมัยหนึ่งด้วย

จากหนังสือ "45 ปี นารีฯ มุทิตาจิต" ซึ่งจัดพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 ท่านได้เขียนไว้ในสารแสดงความยินดี ความตอนหนึ่งว่า ".....คำสอนที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ล้วนมีคุณค่า มิใช่เพียงเพื่อทำให้สอบผ่าน หรือเพื่อเอาใจใคร แต่ดิฉันได้อาศัยคำสอนดังกล่าว เป็นพื้นฐานในการศึกษาเล่าเรียน การทำงาน และการดำเนินงาน ตราบจนทุกวันนี้ นับว่าโรงเรียนนารีวิทยา มีคุณูปการ และเป็นผู้วางรากฐานวิถีชีวิตของดิฉันให้ก้าวหน้าไป ดิฉันจึงรำลึกถึงพระคุณของโรงเรียนอยู่เสมอ...."

ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่มีผลงานด้านวิชาการและคุณูปการมากมายต่อวงการการศึกษาของประเทศไทย จึงขออนุญาตนำประวัติและผลงานของท่านมาเขียนเผยแพร่ไว้ในบล็อกนี้ เพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันได้เอาเป็นแบบอย่างต่อไป

ประวัติส่วนตัว
  • วัน เดือน ปี เกิด 27 มีนาคม พ.ศ.2489
  • สถานภาพสมรส สมรสกับ ดร.สืบแสง พรหมบุญ มีบุตร 3 คน
ประวัติการศึกษา
  • พ.ศ.2499-2504 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ป.5-ม.4 ในปัจจุบัน) โรงเรียนนารีวิทยา อ.เมือง จ.ราชบุรี
  • พ.ศ.2505-2507 เตรียมอุดมศึกษา พญาไท รุ่นที่ 25 สายวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ.2507-2508 เตรียมแพทยศสาตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
  • พ.ศ.2508-2514 B.A. (Zoology), M.S. (Genetics) จาก U. of Wisconsin, Madison, Wis, U.S.A.โดยทุนรัฐบาลไทย ตามความต้องการของกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ส.2519-2522 PH.D (Genetics), Certificate in Population Studies จาก U.of Hawaii, Honolulu, Hi., U.S.A. โดยทุน East West Center
การรับราชการ
  • รับราชการสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ตั้งแต่ 2514 และพ้นราชการในตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9
เคยสอน
  • Cytogenetics
  • Human Genetics
  • Population Genetics and Evolution
  • Statistics for Science / Biostatistics
  • General Biology / Genetics
งานวิจัยที่ชำนาญ
  • Statistictical analysis of medical data
  • Theoretical modeling of biological systems relating to malarial resistant genes
  • Genetic Diversity
ประสบการณ์การบริหารในมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ.2518-2519 เลขานุการคณะวิทยาศาสตร์ มศว.
  • พ.ศ.2524-2526 ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มศว.
  • พ.ศ.2526-2530 คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มศว.
  • พ.ศ.2536-2540 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มศว.
  • พ.ศ.2540-2546 อธิการบดี มศว.
งานที่ปรึกษา / บริการทางวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ.2515-2548 ผู้ชำนาญ / ที่ปรึกษาสาขาชีวิทยา สสวท.
  • พ.ศ.2536-2548 กรรมการดำเนินการจัดการแข่งขัยโอลิมปิควิชาการของกระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ.2532-2548 อนุกรรมการคัดเลือกนักเรียน / นิสิต พสวท. ของทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับ สสวท.
  • พ.ศ.2530-2540 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานทางวิชาการของกรมการฝึกหัดครู
  • พ.ศ.2533-2540 ประธานกรรมการตรวจแบบเรียนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิชาการ
  • พ.ศ.2534 กรรมการศูนย์ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรมการฝึกหัดครู
  • พ.ศ.2523-2548 วิทยากรบรรยายพิเศษในวิทยาลัยครู โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ
  • พ.ศ.2534-2548 กรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิคชีววิทยา และการแข่งขันครั้งที่ 6 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
  • พ.ศ.2538 ร่วมริเริ่มโครงการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ที่มีความสามารถพิเศษ สสวท.และทบวงมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ.2527-2538 อนุกรรมการสร้างแบบทดสอบมาตรฐานวิชาชีววิทยา
  • พ.ศ.2530-2535 อนุกรรมการพิจารณาหลักสูตรชีววิทยา
  • พ.ศ.2533-2538 กรรมการพัฒนาวิชาการสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
  • พ.ศ.2526-ปัจจุบัน ผู้ตรวจผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่ง
  • พ.ศ.2533-ปัจจุบัน อาจารย์พิเศษ / วิทยากรในการสัมมนาทางวิชาการใน มหาวิทยาลัยต่างๆ
  • พ.ศ.2538-ปัจจุบัน อนุกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหลักสูตร
  • พ.ศ.2538-2539 คณะทำงานนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
  • พ.ศ.2539 อนุกรรมการพัฒนาระบบการสอบคัดเลือก ระบบใหม่ กรรมการพัฒนาแบบทดสอบและกรรมการกลั่นกรองข้อสอบชีววิทยา
  • พ.ศ.2540 อนุกรรมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
  • พ.ศ.2540 ประธานคณะทำงานกำหนดเกณฑ์การพิจารณาผลการเรียนสะสมของนักเรียน ม.ปลาย หรือเทียบเท่า ในการคัดเลือกระบบใหม่
  • พ.ศ.2540-2548 อนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลสถาบันการศึกษาเอกชน
  • พ.ศ.2540-2548 กรรมการสภาวิทยาลัยคริสเตียน ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ.2541-2548 รองประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2540-2548 กรรมการพัฒนาวิทยาเขตราชบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ.2531-2548 อนุกรรมการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
  • พ.ศ.2534-2535 กรรมการประเมินความเหมาะสมผู้รับทุนรัฐบาลศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาโท-เอก
  • พ.ศ.2539-2548 กรรมการโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ของ สวทช. กับ สกว.สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ
  • พ.ศ.2539 อนุกรรมการอำนวยการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีปัญญาเลิศ และมีความสามารถพิเศษ
  • พ.ศ.2540 ผู้เชี่ยวชาญ โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน (การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม)สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ
  • พ.ศ.2540 กรรมการแผนพัฒนาเด็กและเยาวชน แผนฯ 8 คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2539 ประธานจัดการประชุด 13th Asian Games Scientific Congress ธันวาคม 2541
  • พ.ศ.2540 กรรมการโดยตำแหน่งอธิการบดี ในคณะกรรมการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ที่ศูนย์องครักษ์
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ)
  • พ.ศ.2534-2540 กรรมการออกและตรวจข้อสอบนักเรียนมัธยมปลาย เพื่อรับทุนรัฐบาลศึกษาต่อต่างประเทศ ระดับปริญญาตรี
กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ.2541 กรรมการโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผู้บริหารสาธารณสุข
รัฐสภา
  • พ.ศ.2540 กรรมการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญใหม่
  • พ.ศ.2541 กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สมาคมวิชาชีพ / มูลนิธิ / ชมรม
  • พ.ศ.2527-2535 กรรมการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ
  • พ.ศ.2527 กรรมการก่อตั้งสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2523-33 อุปนายกสมาคมฯ
  • พ.ศ.2531-2535 กรรมการสมาคมวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2531-ปัจจุบัน สมาชิก Sigma Xi Scientific Research Society of North America
  • พ.ศ.2536-ปัจจุบัน สมาชิก New York Academy of Science
  • พ.ศ.2532-2533 ที่ปรึกษาสมาคมเคมี
  • พ.ศ.2532-2538 กรรมการสมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2533-2539 กรรมการคัดเลือกผู้รับทุนปริญญาเอก มูลนิธิ PHP ของ Matsushita Electros Co.
  • พ.ศ.2528 ประธานชมรมพุทธธรรม มศว ประสานมิตร และประธานการสร้างหอพระ
มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ
  • พ.ศ.2534- ปัจจุบัน เลขานุการ / รองประธาน / ประธานมูลนิธิวิทยาศาสตร์ ดร.ปรีชา ประไพ อมาตรยกุล
  • พ.ศ.2534-ปัจจุบัน กรรมการชมรมนักวิทยาศาสตร์ สมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ.2534-2538 กรรมการมูลนิธิส่งเสริมเด็กปัญญาเลิศ
  • พ.ศ.2534-2539 ผู้แทนไทยใน Asia-Pacific Federation of the World Council on Giftedness and Talentedness
  • พ.ศง2538-2540 ประธานโครงการนำร่องศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพเด็กและเยาวชนมูลนิธิ
สดศรี-สฤษดิ์วงษ์
  • พ.ศ.2538-2540 กรรมการโครงการส่งเสริมการศึกษาสงฆ์โดยการศึกษาทางไกล บริษัทมติชน จำกัด
ดูงาน / ประชุม / งานที่ปรึกษาต่างประเทศ
  • พ.ศ.2529 ดูงานด้านวิทยาศาสตร์ ณ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
  • พ.ศ.2530 ดูงานด้านวิทยาศาสตร์ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • พ.ศ.2531 ประชุมวิชาการเรื่อง Mathematical Ecology ณ International Centre for Theoretical Physics ประเทศอิตาลี
  • พ.ศ.2533 สังเกตการณ์โอลิมปิคชีววิทยา ณ ประเทศเชรโกสโลวาเกีย
  • พ.ศ.2534, 2535, 2536 นำนักเรียนไปแข่งขันโอลิมปิคชีววิทยา ณ สหภาพโซเวียต, เชคโกสโลวาเกีย, เนเธอร์แลนด์
  • พ.ศ.2538 - ดูงานด้าน Biotechnology ณ มหาวิทยาลัย Osaka และ Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น และ ประชุม Second Asian Conference on Giftedness ณ สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
  • พ.ศ.2536-2537 Bioscience Curriculum Specialist ในโครงการ Curriculum Development fo Teacher Education ของ Asian Development Bank ในประเทศลาว ( 5 เดือน)
  • พ.ศ.2537 Science Curriculum Expert ในโครงการ Postsecondary Education Rationalization ของ Asian Development Bank ในประเทศลาว ( 1 เดือน)
  • พ.ศ.2538 ดูงานด้าน Admissions และ Registrar ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ.2538 ร่วมเจรจาความร่วมมือทางวิชาการ โครงการจัดตั้งศูนย์วิชาการกัมพูชา-ไทยศึกษา ณ ประเทศกัมพูชา โดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลไทย ผ่านกรมวิเทศสหการ
  • พ.ศ.2539 ประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 เรื่องการประกันคุณภาพอุดมศึกษา ณ ประเทศออสเตรเลีย
  • พ.ศ.2540 ร่วมไปในคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทย 13 แห่ง ศึกษาดูงาน ณ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย จัดโดย SEAMEO-RIHED
  • พ.ศ.2540 ประชุม/ เจรจาความร่วมมือกับสถาบันในประเทศโรมาเนีย สโลวาเกีย เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา รวม 7 แห่ง
ผลงานทางวิชาการ (คัดเฉพาะที่เผยแพร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ถึงปัจจุบัน)
งานวิจัย
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2525 “ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับอัตราตายของทารกแรกเกิดเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างกรุงเทพมหานครกับอุบลราชธานี”สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • นพพร จิตการุณ และ สุมณฑา พรหมบุญ 2525 “ ความถี่ของปัญญาอ่อนในหมู่ญาติของผู้ป่วยปัญญาอ่อนในประเทศไทย” การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์ครั้งที่ 3 สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • Promboon, S,M,P.Mi and K Chaturachinda 1983. “Birthweight Placental weightand gestation time in relation to natural selection in Thailand”Annals of Human Genetics (London)47 (8) : 133-141
  • Promboon, S 1988. “Alpha – thalassemia in relation to malaria in Thailand : a possible theoretical model”, presented in the First Workshop on Mathematical Ecology at the International Center for Theoretical Physics, Trieste, Italy
  • เนาวรัตน์ สุวรรณบุณย์, พรพิมล ม่วงไทย, สุมณฑา พรหมบุญ และสงบ ศรีพระประแดง 2531. “เปรียบเทียบเทคนิค 2 วิธี ในการวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วในเลือด” วารสาร กรมการแพทย์ 13 (12 : 751-757.
  • เนาวรัตน์ สุวรรณบุณย์ , สุมณฑา พรหมบุญ และนพวรรณ อิทธิวงศ์ศุภกิจ 2533.“ปริมาณตะกั่วในเลือดของคนงานในโรงงาน 10 แห่ง เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 6 (1) : 21-27.
  • Promboon, S 1991. “Construction of Newborn Indices by Factor Analysis”,Srinakharinwirot Science journal 7 (2) : 5-12.
  • พันธุ์สิน เกตุทัต, นงลักษณ์ สกุลญานนท์วิทยา, วราภรณ์ กิจวิริยะ, อนันต์ พู่พิทยาสถาพร, และสุมณฑา พรหมบุญ 2536 “การวัดความแปรผันทางพันธุกรรมของปูนา Somanniathelphusa dugasti ใน 5 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยด้วยวิธี Starch Gel Electrophoresis” วารสาร วิทยาศาสตร์ มศว 9 (1) : 20-23.
งานแปล แต่งตำรา / บทความ
  • สุมณฑา พรหมบุญ และอนันต์ พู่พิทยาสถาพร 2524 วิวัฒนาการ แปลจาก Moore, R. Evolution. Time Life Series จัดพิมพ์โดย มาร์เก็ตติ้งมีเดีย ประเทศไทย
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2530 “ประชากร” ในตำราชีววิทยาของทบวงมหาวิทยาลัย และเป็นบรรณาธิการของตำราทั้งเล่ม
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2530 “พันธุ์กับกรรม” ในหนังสือเรื่อง ความรู้ทางพันธุศาสตร์ ของสมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย และเป็นบรรณาธิการของหนังสือ
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2532 “ยีนมะเร็ง” ในวารสารวิทยาศาสตร์ มศว 4 (1) : 59-68
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2536 “พันธุศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีชีวภาพ” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 9 (1) : 48-52
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2535 “ความทันสมัยกับพฤติกรรมวิทยาศาสตร์” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 8 (1) : 52-55
  • Scientific Rescarch Society of Thailand. 1991. Biodiversity in Thailand S. Promboon (ed) Bangkok : Chuan Publishing Co.
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2535 พันธุศาสตร์ประชากรกับวิวัฒนาการ (กำลังพิมพ์)
  • Promboon, S 1995. Retionalization and Recommendations for science Curriculum Development and lmplementation Plan-National University.
  • Dong Dok Campus. Report of Post Secondary Education Rationlization Project Lao P.D.R. Volume Four, Asian Development Bank T.A.# 1957 Lao, Serco Education Ltd.
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2538 “ชีววิทยากับพันธุศาสตร์” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 11(1) : 61-65.
  • สุมณฑา พรหมบุญ 2539 “วิทยาศาสตร์ที่บริสุทธิ์” วารสารวิทยาศาสตร์ มศว 12(2) : 1-3.
บทความทางด้านการศึกษาที่ประกอบการบรรยาย ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539
  • การส่งเสริมอัจฉริยภาพของเด็กและเยาวชน
  • สถานภาพ ปัญหา และแนวโน้มการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์
  • What Policy is Best for Women in Science in Higher Education?
  • เลี้ยงลูกให้เก่งได้อย่างไร
  • วิธีฝึกคิดแบบ 3 ย
  • สอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาตอนต้นด้วยวิธีธรรมชาติ
  • อัจฉริยภาพ ภาษา และการอ่าน
  • ทฤษฎีและแนวคิดเรื่องการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม
รางวัลที่ได้รับ
  • พ.ศ.2538 ศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ.2539 ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาครูวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่มาข้อมูล
  • สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2552). รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ. [Online]. Available : http://www.swuaa.com/webnew/index.php?option=com_content&view=article&id=241:2009-03-05-14-34-42&catid=69:2009-03-04-03-13-20&Itemid=61. [2553 พฤศจิกายน 24 ]. (ข้อมูลที่คัดลอกมานี้ แก้ไขปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2552 เวลา 14:34 น)
  • โรงเรียนนารีวิทยา. (2544). 45 ปี นารีฯ มุทิตาจิต. กรุงเทพฯ : Starboom Interprint.
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

น.อ.ทองย้อย แสงสินชัย ผู้แต่งกาพย์เห่เรือ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2488
ตรงกับวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา ที่ตำบลปากไก่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของ นายอิน นางเหมิด มีพี่น้องรวม 5 คน คือ
  1. ชาย ชื่อ เบิ้ม
  2. ชาย ชื่อ ทองหยิบ
  3. ชาย ชื่อ สมจิตต์
  4. ชาย ชื่อ ทองหยด
  5. ชาย ชื่อ ทองย้อย
เมื่ออายุประมาณ 8 ขวบ ไปอยู่วัดหนองกระทุ่ม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี กับพี่ชายคนโตซึ่งบวชอยู่ที่นั่น แล้วเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม เรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2499

บรรพชา/อุปสมบท
  • พ.ศ. 2504 บรรพชาที่วัดหนองกระทุ่ม โดยมีพระครูขันตยาภิรัต(หลวงพ่อป๋อง) เป็นพระอุปัชฌาย์
  • พ.ศ. 2508 อุปสมบทที่วัดหนองกระทุ่ม โดยมี พระศรีธีรพงศ์(ช้อย ป.ธ.9) วัดมหาธาตุ ราชบุรี เป็นอุปัชฌาย์  พระครูรัตนสุทธิคุณ(พรหม ปหฏฺโฐ) วัดสนามสุทธาวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูบวรธรรมสมาจาร(สุชาติ ป.ธ.3) วัดมหาธาตุ ราชบุรี เป็นพระอนุศาสนาจารย์
การศึกษา
  • พ.ศ.2504 สอบนักธรรมชั้นตรีได้ สำนักเรียนวัดหนองกระทุ่ม
  • พ.ศ.2505 สอบนักธรรมชั้นโทได้ สำนักเรียนวัดหนองกระทุ่ม
  • พ.ศ.2506 สอบนักธรรมชั้นเอกได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2508 สอบประโยค ป.ธ.3 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2509 สอบประโยค ป.ธ.4 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2510 สอบประโยค ป.ธ.5 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2511 สอบประโยค ป.ธ.6 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2512 สอบประโยค ป.ธ.7 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2513 สอบประโยค ป.ธ.8 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2514 สอบประโยค ป.ธ.9 ตก
  • พ.ศ.2515 สอบประโยค ป.ธ.9 ได้ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
  • พ.ศ.2516 เดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยมคธ รัฐวิหาร ประเทศอินเดีย โดยศึกษาสาขาประวัติศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี เมื่อเรียนไปได้ปีกว่าๆ ก็เกิดเหตุไม่สงบขึ้นใมหาวิทยาลัย ทางการสั่งให้ปิดการศึกษาโดยไม่มีกำหนดเปิด จึงตัดสินใจเดินทางกลับ (เมื่อกลับมาเมืองไทยได้ราวๆ 2-3 เดือน ก็เปิดการศึกษาได้ตามปกติ แต่ตอนนั้นหมดความตั้งใจที่จะศึกษาต่อเสียแล้ว)
การทำงาน
  • พ.ศ. 2517 ลาสิกขาและเข้าทำงานเป็นนักวิชาการมูลนิธิภูมิพโลภิกขุ วัดสระเกศ กทม.
  • พ.ศ. 2521 เข้ารับราชการเป็นนักภาษาโบราณกองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
  • พ.ศ. 2524 เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์กองทัพเรือ
ชีวิตครอบครัว
  • พ.ศ.2518 สมรสกับอาจารย์สุดใจ อินทศิริ อาจารย์วิทยาลัยเทคนิค ราชบุรี
  • พ.ศ.2520 มีลูกสาวชื่อ พรกวินทร์
  • พ.ศ.2523 มีลูกชายชื่อ ศิลปากร
  • พ.ศ.2524 มีลูกชายชื่อ อนุสรนาวี
ผลงานหนังสือ
ได้เขียนกาพย์กลอน รวมทั้งบทความวิชาการต่างๆ ซึ่งรวมเรียกว่า ”ผลงานหนังสือ” ไว้หลายเรื่อง บางเรื่องพิมพ์เผยแพร่แล้ว บางเรื่องยังไม่ได้พิมพ์ มีดังนี้
  1. กลอนนิราศเรื่อง ลำนำลำน้ำแควน้อย
  2. บรรพชาปวัตน์คำกลอน บทกลอนชนะเลิศรางวัลเคนเนดีทางวรรณคดี
  3. สุภาษิตชาดก พิมพ์ครั้งที่ 3 เปลี่ยนชื่อเป็น สุภาษิตชาดก 100 บท พ.ศ.2540
  4. คำทำนายฝันครั้งประวัติศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2540 เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น พุทธทำนายโลก
  5. วิเคราะห์ ว. ชัยภัค กรณีวิเคราะห์พระเทพเวที กรณีโพธิรักษ์
  6. เพลงฉ่อยนำชมเมืองราชบุรี ยังไม่ได้พิมพ์เผยแพร่
  7. พุทธชัยมงคลคาถา(คาถาพาหุง)
  8. โคลงโลกนิติ ฉบับถอดความ
  9. กาพย์เห่เรือ ปีกาญจนาภิเษก พ.ศ.2539 ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดประกวดกาพย์เห่เรือ ได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้แต่งเพิ่มเติมอีก 4 บท รวมเป็น 5 บท ใช้เห่เรือในวาระที่กองทัพเรือจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2539
  10. ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับรวบรวมเรียบเรียงใหม่
  11. ได้รับรางวัลที่ 2 ในการแต่งเพลงวันครูเข้าประกวด ซึ่งคุรุสภาเป็นผู้จัด เมื่อ พ.ศ.2541 ชื่อเพลงเทียนส่องฟ้า (นาวาเอกณัฐ รัชกุล กองดุริยางค์ทหารเรือ แต่งทำนอง)
  12. กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542
  13. ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี
  14. ความจริงในมหาปรินิพพานสูตร(กรณีพระมโน)
  15. เปิดหน้ากากธรรมกาย ลากไส้ ดร.เบญจ์
  16. ไขปริศนาปัญหาภิกษุณี
  17. บทกลอน และบทความในนาวิกศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 เป็นต้นมา
  18. บทกลอนอาศิรวาท บทกลอนวันที่ระลึกต่างๆ บทกลอนอวยพร บทกลอนไว้อาลัย ตามที่มีผู้ร้องขอเป็นระยะๆ เป็นจำนวนมาก(ผลงานเหล่านี้ยังไม่ได้รวบรวม)
  19. บทเพลงที่มีผู้ขอให้แต่ง มีทั้งเนื้อเพลงที่นำไปขับร้องเพลงไทยเดิม เนื้อและทำนองเพลงประจำโรงเรียน(เช่น โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม, โรงเรียนจ่าพยาบาล) เพลงประจำหน่วยทหาร(เช่น มาร์ชกรมสรรพาวุธทหารเรือ,มาร์ชกรมอู่, มาร์ชกรมทหาราบที่ 3 นย.)
  20. เป็นผู้แต่งกาพย์เห่เรือเอเปค ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำเอเปค(กาพย์เห่เรือที่แต่งในงานนี้มี 2 บท คือ ชมเรือกระบวน และ ชมเมือง)
ตำแหน่งหน้าที่ในกองทัพเรือ
  • ตำแหน่งในกองอนุศาสนาจารย์ ตั้งแต่เข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ.2524 หมุนเวียนหลายตำแหน่ง เช่น อนุศาสนาจารย์แผนกต่างๆ,หัวหน้าแผนกอบรมศีลธรรม,หัวหน้าแผนกวิชาการ เป็นต้น
  • อนุศาสนาจารย์ กองบังคับการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กรมนาวิกโยธิน(ชื่อหน่วยในขณะนั้น) ค่ายจุฬาภรณ์ นราธิวาส ระหว่าง พ.ศ.2529-2533
  • อนุศาสนาจารย์โรงเรียนนายเรือ ระหว่าง พ.ศ.2534-2536
  • อนุศาสนาจารย์อาวุโส กองอนุศาสนาจารย์ ระหว่าง 2540-2542
  • รองผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2542
  • ผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546
เกียรติคุณ
  • ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากอำเภอปากท่อ ให้เป็น “บุคคลเกียรติยศสร้างชื่อเสียงให้อำเภอปากท่อ” ในโอกาสฉลองครบรอบ 100 ปี การก่อตั้งอำเภอปากท่อ พ.ศ.2542
  • ได้รับพระราชทาน รางวัลเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพุทธศาสนา ประจำปีพุทธศักราช 2543
  • ได้รับโล่เชิดชูเกียรติคุณจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช 2545
ที่มา
ข้อมูล : ทองย้อย แสงสินชัย. (2552). เผยเบื้องหลังการแต่งกาพย์เห่เรือ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค. [Online]. Available :http://songs-for-royal-barges-thailand.blogspot.com. [2553 พฤศจิกายน 1 ].
ภาพ : http://songs-for-royal-barges-thailand.blogspot.com/2009/10/blog-post.htm

อ่านเพิ่มเติม เผยเบื้องหลังการแต่งกาพย์เห่เรือ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
อ่านต่อ >>